วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การสร้างรูปทรงกลม

**************************************************************
การสร้างรูปทรงกลม

ขั้นตอนที่ 1  
สร้างไฟล์ใหม่ขนาดใดก็ได้

ขั้นตอนที่ 2  
สร้าง Layer ใหม่แล้วใช้อุปกรณ์ Marquee Tool  ให้เป็นลักษณะวงกลม  ดังภาพ


ขั้นตอนที่ 3 
          เสร็จแล้วให้ Fill สีลงไป  สีอะไรก็ได้  โดยมาที่  Edit à Fill   = Foreground Color


ขั้นตอนที่ 4  
          เสร็จแล้วให้มาที่  Filter à Render à Lighting Effects  ปรับค่าต่าง ๆ ดังภาพ


**************************************************************

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การปรับสีของภาพนิ่ง

การปรับสีของภาพนิ่ง เป็นอีกความสามารถหนึ่งของ โปรแกรม Photoshop นั่นคือความสามารถในการ แก้ไข ปรับแต่งภาพ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น ภาพนั้นมีสีที่ไม่สด ก็สามารถทำให้สดสวยขึ้นมาได้ ภาพเป็นภาพขาวดำ เราก็สามารถทำให้ภาพนั้นมีสีสันได้ หรือแม้กระทั่งภาพที่มีสีสันที่สวยอยู่แล้ว แต่เราต้องการเปลี่ยนสีเป็นสีอื่น ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย

สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีประการแรกคือ ภาพนิ่ง ที่เราต้องการแก้ไข หรือต้องการจะนำมาใช้งาน ยกตัวอย่างภาพตามด้านล่างนี้






เครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งสีของรูปภาพ


เครื่องมือที่ใช้หลัก ก็คือ Brush tool นั้นเอง

วิธีการทำภาพให้เป็นสีที่เราต้องการ

1. เลือกาภพที่ต้องการทำแล้วเปิดใน Photoshop โดยการไปที่ file>open


2. ในภาพนี้เป็นดอกกุหลาบ ขาวดำ ต้องการเปลี่ยนดอกกุหลาบให้มีสีแดง โดยเลือก ที่ Brush tool แล้วไปคลิกที่ Edit in Quick mask mode


ในกล่องเครื่องมือ ด้านล่างสุด
 
3. เมื่อคลิกแล้ว ให้ทำการระบายลงในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนสี นั่นคือ ตรงดอกกุหลาบนั่นเอง ระบายให้เนียนที่สุดเท่าที่จะทำได้


เมื่อระบายเสร็จแล้ว จะมีลักษณะคล้านมีแจลสีแดงเคลือบอยู่ 

4. ระบายเสร็จแล้ว ก็ให้กลับไปกดที่Edit in Quick mask mode ตัวเดิม 



5. เมื่อคลิกแล้วก็จะเกิด selection ขึ้น แล้วให้ไปที่ menu bar เลือก select > inverse เพื่อทำการเลือกพื้นที่ดอกกุหลาบ

6. เสร็จแล้วไปที่ menu bar เลือก layer> new fill layer > solid color จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาดังรูป



7. ในช่อง Mode เลือกเปลี่ยนเป็น Soft light แล้วกด OK จะปรากฎ หน้าต่างแถบสีขึ้นมา  ให้เลือกสีแสงสดมุมขวาบนสุดดอกกุหลาบของเราก็จะกลายเป็นสีแแดง ดังรูป


8. เมื่อเลือกแล้ว กด ok  จะได้ดอกกุหลาบสีแดง แต่ยังแดงไม่มาก เราต้องการแดงสดๆกว่านี้ ให้ไปที่ หน้าต่าง Panel Layer


9. ดูแถบล่างสุด ที่เป็นวงกลมสีขาวดำ คลิก แล้วเลือก  Vibrance จะปรากำหน้าต่างดังภาพ


10. ให้ดึงแถบ Saturation ไปทางขวาจะเห็นได้ว่า สแดงมีความสดขึ้น  เป็นอันเรียบร้อย
จะได้ภาพกุหลาบแดง จากภาพขาวดำ


-------------------------------------------------------------------------------------------------

อีกวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนสีภาพอย่างรวดเร็วคือ การใช้คำสั่ง Hue/saturation

1. ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการ แล้วทำการวาด Selection รอบส่วนที่ต้องการจะเปลี่ยนสี

2. ไปที่ menu bar เลือก image >adjustment > Hue/saturatuion



3. ลองเลือนดูก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสี อย่างง่ายดาย นั่นเอง  เสร็จแล้วก็เอา Selection ออก โดยกด Ctrl + D 



--------------------------------------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การตั้งค่างาน ในโปรแกรม PS CS6

#####################################################################

การตั้งค่างาน ในโปรแกรม PS CS6


เมื่อเปิดโปรแกรม Adobe Photoshop ขึ้นมาให้ไปที่  File  >>  New...



จากนั้นให้ทำการตั้งชื่องาน กำหนดขนาด รูปแบบสี ตามความต้องการของนักเรียน โดยมีลายละเอียดดังต่อไปนี้




Name : >> ช่องสำหรับกรอกชื่อชิ้นงาน

Document Type : >> รูปแบบสำเร็จรูป (สามารถ เลือก Custom เพื่อตั้งค่าตามความต้องการได้)

Width : ความกว้าง

Height : ความสูง

Resolution : ความละเอียด

Color Mode : โหมดสี

Background Contents :  การตั้งค่า กระดาษแผ่นล่างสุด 

*******************************************************************

ในส่วนของ Advanced มีไว้สำหรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในส่วนต่างๆ เช่น หน้าจอ เครื่องพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกนเนอร์ 

*******************************************************************


#####################################################################







วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของโปรแกรม ADOBE PHOTOSHOP CS6

ส่วนประกอบของโปรแกรม ADOBE PHOTOSHOP CS6


####################################################################


####################################################################

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความรู้เกี่ยวกับสี



RGB และ CMYK คืออะไร 


RGB ที่ย่อมาจาก Red, Green, และ Blue ก็คือระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงกลายเป็นสีรุ้ง รวมได้เป็น 7 สี เป็นช่วงแสงที่สายตาของคนสามารถมองเห็นได้นั้นเอง และแสงสีม่วงเป็นสีที่มีความถี่สูงที่สุด เรียกกันว่าอุนตราไวโอแรต และแสงสีแดงที่มีความถี่ต่ำที่สุด เรียกว่าอินฟาเรต คลื่นของแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำกว่าสีแดงนั้น สายตาของคนเราไม่สามารถรับได้ แสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง (Red), สีเขียว (Green), และสีน้ำเงิน (Blue) ซึ่งทั้ง 3 สีนี้จะเป็นแม่สีของแสง





เมื่อทั้ง 3 แม่สีได้รวมกันจะได้สีแตกต่างออกไปดังนี้

สีแดง + สีเขียว = สีเหลือง (Yellow)

สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีฟ้า (Cyan)

สีแดง + สีน้ำเงิน = สีแดงอมชมพู (Magenta)

และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ในปริมาณแสงสว่างที่เท่ากันจะได้ออกมาเป็นสีขาว หากผสมกันระหว่างแสงที่มีความสว่างที่ต่างกัน ก็จะได้สีมากถึง 16.8 ล้านสีเลยทีเดียวครับ ซึ่งส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะแบบนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสงโดยเฉพาะเช่น หน้าจอภาพ (Monitor), กล้องดิจิตอล, สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นต้น



พื้นที่สี sRGB

sRGB เป็นการร่วมมือกันพัฒนาขึ้นระหว่าง Microsoft และ Hewlette-Packard (HP) เพื่อนำไปใช้งานใน ระบบแสดงผลของจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลังจากที่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ แล้ว ก็ยังได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลในระบบ Internet อีกด้วย ระบบ sRGB สามารถแสดงช่วงของ สีที่คิดได้เป็นปริมาณ 35% ของสีที่มองเห็นได้จริงตามมาตรฐานของ CIE (Commission International de l' éclairage) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป




พื้นที่สี Adobe RGB

ด้วยข้อจำกัดของ sRGB ที่ทำให้ค่าสีไม่สามารถแทนค่าสีสดๆได้ หรือทางเทคนิคจะเรียกว่ามีขอบเขตสี (color gamut) จำกัด ดังนั้นทาง Adobe System ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟแวร์สำหรับการพิมพ์มาอย่างต่อเนื่องเห็นว่าควรจะกำหนดให้มีปริภูมิสีใหม่ ซึ่งมีขอบเขตสีกว้างกว่า sRGB จึงสร้าง Adobe RGB ขึ้นและเริ่มใช้กับ Photoshop 5.0.2 ในเดือนพฤศจิกายน 1998 (และเป็นที่มาว่าทำไมบางครั้งจะเห็นวงเล็บ 1998 ต่อท้าย) 
Adobe RGB (1998) พื้นที่สีเป็นพื้นที่สี RGBพัฒนาโดยAdobe Systems, Incในปี 1998 มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุดของสีทำได้ในCMYKสีเครื่องพิมพ์แต่โดยใช้RGB สีหลักบนอุปกรณ์เช่นจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Adobe RGB (1998) พื้นที่สีครอบคลุมประมาณ 50% ของสีที่มองเห็นได้ระบุโดยพื้นที่สี CIELAB - การปรับปรุงอยู่กับขอบเขตของพื้นที่สี sRGBหลักในสีฟ้าสีเขียวสี


ภูมิหลังประวัติศาสตร์

ในปี 1997 อะโดบีซิสเต็มได้มองเห็นวิธีในการสร้างโปรไฟล์ ICCที่ผู้บริโภคสามารถใช้ร่วมกับPhotoshop ของใหม่การจัดการสีคุณลักษณะ ตั้งแต่การใช้งานไม่มากในช่วงเวลาที่มีการจัดการสี ICC ใดมากที่สุดระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้จัดส่งที่มีโปรไฟล์ที่มีประโยชน์ นำไปพัฒนาของ Photoshop, โทมัส Knoll ตัดสินใจที่จะสร้างโปรไฟล์ ICC รอบรายละเอียดที่เขาพบในเอกสารสำหรับพีทีอีมาตรฐาน 240M ผู้นำกับRec 709 . ช่วง SMPTE 240M เป็นวงกว้างกว่าพื้นที่สี sRGB, แต่ไม่มาก แต่ด้วยการเปิดตัวของ Photoshop 5.0 ใกล้อะโดบีได้ตัดสินใจที่จะรวมถึงรายละเอียดภายในซอฟต์แวร์ แม้ว่าผู้ใช้ที่รักช่วงกว้างของสีที่สามารถทำซ้ำได้ผู้ที่คุ้นเคยกับข้อกำหนด SMPTE 240M ติดต่อ Adobe แจ้ง บริษัท ว่าได้คัดลอกค่าที่อธิบายพรรคเงียบสงบคนมาตรฐานไม่ได้เกิดขึ้นจริง ค่าที่แท้จริงได้มากใกล้ชิดกับ sRGB ซึ่งตัวยงผู้บริโภค Photoshop ไม่ชอบเป็นสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้เรื่องเลววิศวกรได้ทำข้อผิดพลาดเมื่อคัดลอกแดงพิกัด chromaticity หลักที่มีผลในการแสดงแม้ไม่ถูกต้องมากขึ้นของมาตรฐาน SMPTE
Adobe พยายามใช้กลยุทธ์มากมายที่จะแก้ไขรายละเอียดเช่นการแก้ไขหลักสีแดงและเปลี่ยนจุดสีขาวเพื่อให้ตรงกับที่ของCIE มาตรฐานสว่าง D50แต่ทั้งหมดของการปรับเปลี่ยนที่ทำแปลง CMYK ที่เลวร้ายยิ่งกว่าก่อน ในท้ายที่สุด Adobe ตัดสินใจที่จะเก็บรายละเอียด "ถูกต้อง" แต่เปลี่ยนชื่อเป็นAdobe RGB (1998)ในการสั่งซื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการค้นหาเครื่องหมายการค้าหรือละเมิด 

ใน Adobe RGB (1998), สีที่กำหนดเป็น [ R , G , B ] แฝดที่แต่ละR , GและBส่วนประกอบมีค่าระหว่าง 0 และ 1 เมื่อปรากฏบนจอภาพที่แน่นอนระบบสีของ อ้างอิงจุดสีขาว[1,1,1] อ้างอิงจุดสีดำ [0,0,0] และพรรค ([1,0,0], [0,1,0] และ [0,0,1 ]) ที่ระบุไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลักษณะสีของพื้นที่สีที่สว่างของจอภาพจะต้องเป็น 160.00 cd / m 2ที่จุดสีขาวและ 0.5557 cd / m 2ที่จุดสีดำซึ่งหมายถึงอัตราความคมชัดของ 287.9 นอกจากนี้ยังมีจุดสีดำจะมี chromaticity เดียวกันเป็นจุดสีขาวยังมีความสว่างเท่ากับ 0.34731% ของความสว่างจุดสีขาว. [2]รอบไฟส่องสว่างในระดับที่หน้าจอมอนิเตอร์เมื่อจอภาพถูกปิดจะต้องเป็น 32 LX .
เช่นเดียวกับ sRGB ที่RGBค่าองค์ประกอบใน Adobe RGB (1998) ไม่ได้สัดส่วนกับ luminances แต่เป็นแกมมา 2.2 จะสันนิษฐานได้โดยไม่ต้องมีส่วนเชิงเส้นใกล้ศูนย์ที่มีอยู่ใน sRGB ค่าแกมมาแม่นยำ 563/256 หรือ 2.19921875 ในการรายงานข่าวของพื้นที่สี CIE 1931โปรแกรม Adobe RGB (1998) ครอบคลุมพื้นที่สี 52.1%. 

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หน้าที่ของ Ram



RAM ทำหน้าที่อะไร
RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น



การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นการทำงานหรือการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งหมายถึง หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU สามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงตรงจุดไหนก็ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Random access
RAM สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Input Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
2. Working Storage Area 
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU
3. Output Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่า RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยิ่งคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี RAM มาก ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจำนวนช่อง (Slot) ในแผลวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรือไม่ เป็นต้น

การเช็คสเปคการ์ดจอ


GPU - Z



  • Name – ใช้ดูชื่อของการ์ดจอ นอกจากนั้นยังบอกถึงบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย
  • GPU – ใช้ดูชื่อของ GPU ที่ใช้ในการประมวลผล
  • Technology – ใช้ดูเทคโนโลยีที่ใช้ผลิต ซึ่งจะบอกเป็นขนาดของ GPU
  • Memory Type – ใช้สำหรับดูว่า Memory (หน่วยความจำ) ของ GPU เป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันก็คงจะได้เห็น GRRD5 กันแล้ว
  • Memory Size – ใช้สำหรับดูขนาดของ Memory ที่มีให้
  • DirectX Support – ใช้ดูว่าการ์ดจอที่ใช้งานอยู่ รองรับ DirectX เวอร์ชั่นอะไร (เวอร์ชั่นที่สูงที่สุด)
  • Bus Width – ใช้สำหรับดูขนาดช่องทางในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว
  • Bandwidth – ใช้สำหรับดูความเร็วในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว ค่านี้สัมพันธ์กับ Bus Width
  • GPU Clock – ความเร็วของ GPU ซึ่งจะมีหน่วยความเร็วเหมือนๆกับ CPU ที่เป็นแบบ Ghz จากรูปก็คือ 0.86Mhz นอกจากนั้นช่องต่อมา เราสามารถที่จะดูความเร็ว Bus ของ Memory ได้อีกด้วย
  • Default Clock – แสดงผลความเร็วตั้งต้นที่ผลิตมาจากโรงงาน จากรูปจะเห็นว่าเท่ากับ GPU Clock เลย เพราะว่าไม่ได้ทำการ Overclock GPU มันจึงมีค่าเท่ากัน
  • NVIDIA SLI– เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอหลายๆตัวร่วมกันประมวลผลกราฟฟิค ซึ่งจากรูปก็จะเป็นแบบ Disabled ก็คือไม่ได้เปิดใช้งาน หรือใช้งานการ์ดจอเพียงตัวเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ที่ใช้ AMD จะขึ้นว่า ATI CossFire 

การเช็คสเปค CPU



CPU - Z 

Name - ชื่อ รุ่น ของ CPU

Code Name - ชื่อชีรี้ของ CPU 

Max TDP - บอกอัตตราการกินไฟสูงของ CPU

Package - บอก Socket CPU

Technology - เทคโนโลยีการผลิต

Core Voltage - ไฟเลี้ยง CPU

Specification - ชื่อเต็มของ CPU

Instructions - โค๊ตการเข้ารหัสของ CPU 

Clocks - บอกรายละเอียดความเร็วของ CPU 

Cache - บอกรายละเอียด ของ Cache CPU แยกออกเป็น Level ต่างๆ