วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การตั้งค่างาน ในโปรแกรม PS CS6

#####################################################################

การตั้งค่างาน ในโปรแกรม PS CS6


เมื่อเปิดโปรแกรม Adobe Photoshop ขึ้นมาให้ไปที่  File  >>  New...



จากนั้นให้ทำการตั้งชื่องาน กำหนดขนาด รูปแบบสี ตามความต้องการของนักเรียน โดยมีลายละเอียดดังต่อไปนี้




Name : >> ช่องสำหรับกรอกชื่อชิ้นงาน

Document Type : >> รูปแบบสำเร็จรูป (สามารถ เลือก Custom เพื่อตั้งค่าตามความต้องการได้)

Width : ความกว้าง

Height : ความสูง

Resolution : ความละเอียด

Color Mode : โหมดสี

Background Contents :  การตั้งค่า กระดาษแผ่นล่างสุด 

*******************************************************************

ในส่วนของ Advanced มีไว้สำหรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในส่วนต่างๆ เช่น หน้าจอ เครื่องพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกนเนอร์ 

*******************************************************************


#####################################################################







วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของโปรแกรม ADOBE PHOTOSHOP CS6

ส่วนประกอบของโปรแกรม ADOBE PHOTOSHOP CS6


####################################################################


####################################################################

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความรู้เกี่ยวกับสี



RGB และ CMYK คืออะไร 


RGB ที่ย่อมาจาก Red, Green, และ Blue ก็คือระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงกลายเป็นสีรุ้ง รวมได้เป็น 7 สี เป็นช่วงแสงที่สายตาของคนสามารถมองเห็นได้นั้นเอง และแสงสีม่วงเป็นสีที่มีความถี่สูงที่สุด เรียกกันว่าอุนตราไวโอแรต และแสงสีแดงที่มีความถี่ต่ำที่สุด เรียกว่าอินฟาเรต คลื่นของแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำกว่าสีแดงนั้น สายตาของคนเราไม่สามารถรับได้ แสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง (Red), สีเขียว (Green), และสีน้ำเงิน (Blue) ซึ่งทั้ง 3 สีนี้จะเป็นแม่สีของแสง





เมื่อทั้ง 3 แม่สีได้รวมกันจะได้สีแตกต่างออกไปดังนี้

สีแดง + สีเขียว = สีเหลือง (Yellow)

สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีฟ้า (Cyan)

สีแดง + สีน้ำเงิน = สีแดงอมชมพู (Magenta)

และเมื่อนำแม่สีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ในปริมาณแสงสว่างที่เท่ากันจะได้ออกมาเป็นสีขาว หากผสมกันระหว่างแสงที่มีความสว่างที่ต่างกัน ก็จะได้สีมากถึง 16.8 ล้านสีเลยทีเดียวครับ ซึ่งส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะแบบนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสงโดยเฉพาะเช่น หน้าจอภาพ (Monitor), กล้องดิจิตอล, สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นต้น



พื้นที่สี sRGB

sRGB เป็นการร่วมมือกันพัฒนาขึ้นระหว่าง Microsoft และ Hewlette-Packard (HP) เพื่อนำไปใช้งานใน ระบบแสดงผลของจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลังจากที่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ แล้ว ก็ยังได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลในระบบ Internet อีกด้วย ระบบ sRGB สามารถแสดงช่วงของ สีที่คิดได้เป็นปริมาณ 35% ของสีที่มองเห็นได้จริงตามมาตรฐานของ CIE (Commission International de l' éclairage) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป




พื้นที่สี Adobe RGB

ด้วยข้อจำกัดของ sRGB ที่ทำให้ค่าสีไม่สามารถแทนค่าสีสดๆได้ หรือทางเทคนิคจะเรียกว่ามีขอบเขตสี (color gamut) จำกัด ดังนั้นทาง Adobe System ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟแวร์สำหรับการพิมพ์มาอย่างต่อเนื่องเห็นว่าควรจะกำหนดให้มีปริภูมิสีใหม่ ซึ่งมีขอบเขตสีกว้างกว่า sRGB จึงสร้าง Adobe RGB ขึ้นและเริ่มใช้กับ Photoshop 5.0.2 ในเดือนพฤศจิกายน 1998 (และเป็นที่มาว่าทำไมบางครั้งจะเห็นวงเล็บ 1998 ต่อท้าย) 
Adobe RGB (1998) พื้นที่สีเป็นพื้นที่สี RGBพัฒนาโดยAdobe Systems, Incในปี 1998 มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุดของสีทำได้ในCMYKสีเครื่องพิมพ์แต่โดยใช้RGB สีหลักบนอุปกรณ์เช่นจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Adobe RGB (1998) พื้นที่สีครอบคลุมประมาณ 50% ของสีที่มองเห็นได้ระบุโดยพื้นที่สี CIELAB - การปรับปรุงอยู่กับขอบเขตของพื้นที่สี sRGBหลักในสีฟ้าสีเขียวสี


ภูมิหลังประวัติศาสตร์

ในปี 1997 อะโดบีซิสเต็มได้มองเห็นวิธีในการสร้างโปรไฟล์ ICCที่ผู้บริโภคสามารถใช้ร่วมกับPhotoshop ของใหม่การจัดการสีคุณลักษณะ ตั้งแต่การใช้งานไม่มากในช่วงเวลาที่มีการจัดการสี ICC ใดมากที่สุดระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้จัดส่งที่มีโปรไฟล์ที่มีประโยชน์ นำไปพัฒนาของ Photoshop, โทมัส Knoll ตัดสินใจที่จะสร้างโปรไฟล์ ICC รอบรายละเอียดที่เขาพบในเอกสารสำหรับพีทีอีมาตรฐาน 240M ผู้นำกับRec 709 . ช่วง SMPTE 240M เป็นวงกว้างกว่าพื้นที่สี sRGB, แต่ไม่มาก แต่ด้วยการเปิดตัวของ Photoshop 5.0 ใกล้อะโดบีได้ตัดสินใจที่จะรวมถึงรายละเอียดภายในซอฟต์แวร์ แม้ว่าผู้ใช้ที่รักช่วงกว้างของสีที่สามารถทำซ้ำได้ผู้ที่คุ้นเคยกับข้อกำหนด SMPTE 240M ติดต่อ Adobe แจ้ง บริษัท ว่าได้คัดลอกค่าที่อธิบายพรรคเงียบสงบคนมาตรฐานไม่ได้เกิดขึ้นจริง ค่าที่แท้จริงได้มากใกล้ชิดกับ sRGB ซึ่งตัวยงผู้บริโภค Photoshop ไม่ชอบเป็นสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้เรื่องเลววิศวกรได้ทำข้อผิดพลาดเมื่อคัดลอกแดงพิกัด chromaticity หลักที่มีผลในการแสดงแม้ไม่ถูกต้องมากขึ้นของมาตรฐาน SMPTE
Adobe พยายามใช้กลยุทธ์มากมายที่จะแก้ไขรายละเอียดเช่นการแก้ไขหลักสีแดงและเปลี่ยนจุดสีขาวเพื่อให้ตรงกับที่ของCIE มาตรฐานสว่าง D50แต่ทั้งหมดของการปรับเปลี่ยนที่ทำแปลง CMYK ที่เลวร้ายยิ่งกว่าก่อน ในท้ายที่สุด Adobe ตัดสินใจที่จะเก็บรายละเอียด "ถูกต้อง" แต่เปลี่ยนชื่อเป็นAdobe RGB (1998)ในการสั่งซื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการค้นหาเครื่องหมายการค้าหรือละเมิด 

ใน Adobe RGB (1998), สีที่กำหนดเป็น [ R , G , B ] แฝดที่แต่ละR , GและBส่วนประกอบมีค่าระหว่าง 0 และ 1 เมื่อปรากฏบนจอภาพที่แน่นอนระบบสีของ อ้างอิงจุดสีขาว[1,1,1] อ้างอิงจุดสีดำ [0,0,0] และพรรค ([1,0,0], [0,1,0] และ [0,0,1 ]) ที่ระบุไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลักษณะสีของพื้นที่สีที่สว่างของจอภาพจะต้องเป็น 160.00 cd / m 2ที่จุดสีขาวและ 0.5557 cd / m 2ที่จุดสีดำซึ่งหมายถึงอัตราความคมชัดของ 287.9 นอกจากนี้ยังมีจุดสีดำจะมี chromaticity เดียวกันเป็นจุดสีขาวยังมีความสว่างเท่ากับ 0.34731% ของความสว่างจุดสีขาว. [2]รอบไฟส่องสว่างในระดับที่หน้าจอมอนิเตอร์เมื่อจอภาพถูกปิดจะต้องเป็น 32 LX .
เช่นเดียวกับ sRGB ที่RGBค่าองค์ประกอบใน Adobe RGB (1998) ไม่ได้สัดส่วนกับ luminances แต่เป็นแกมมา 2.2 จะสันนิษฐานได้โดยไม่ต้องมีส่วนเชิงเส้นใกล้ศูนย์ที่มีอยู่ใน sRGB ค่าแกมมาแม่นยำ 563/256 หรือ 2.19921875 ในการรายงานข่าวของพื้นที่สี CIE 1931โปรแกรม Adobe RGB (1998) ครอบคลุมพื้นที่สี 52.1%. 

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หน้าที่ของ Ram



RAM ทำหน้าที่อะไร
RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น



การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นการทำงานหรือการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งหมายถึง หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU สามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงตรงจุดไหนก็ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Random access
RAM สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Input Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
2. Working Storage Area 
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU
3. Output Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่า RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยิ่งคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี RAM มาก ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจำนวนช่อง (Slot) ในแผลวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรือไม่ เป็นต้น

การเช็คสเปคการ์ดจอ


GPU - Z



  • Name – ใช้ดูชื่อของการ์ดจอ นอกจากนั้นยังบอกถึงบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย
  • GPU – ใช้ดูชื่อของ GPU ที่ใช้ในการประมวลผล
  • Technology – ใช้ดูเทคโนโลยีที่ใช้ผลิต ซึ่งจะบอกเป็นขนาดของ GPU
  • Memory Type – ใช้สำหรับดูว่า Memory (หน่วยความจำ) ของ GPU เป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันก็คงจะได้เห็น GRRD5 กันแล้ว
  • Memory Size – ใช้สำหรับดูขนาดของ Memory ที่มีให้
  • DirectX Support – ใช้ดูว่าการ์ดจอที่ใช้งานอยู่ รองรับ DirectX เวอร์ชั่นอะไร (เวอร์ชั่นที่สูงที่สุด)
  • Bus Width – ใช้สำหรับดูขนาดช่องทางในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว
  • Bandwidth – ใช้สำหรับดูความเร็วในการรับส่งข้อมูล ยิ่งเยอะยิ่งเร็ว ค่านี้สัมพันธ์กับ Bus Width
  • GPU Clock – ความเร็วของ GPU ซึ่งจะมีหน่วยความเร็วเหมือนๆกับ CPU ที่เป็นแบบ Ghz จากรูปก็คือ 0.86Mhz นอกจากนั้นช่องต่อมา เราสามารถที่จะดูความเร็ว Bus ของ Memory ได้อีกด้วย
  • Default Clock – แสดงผลความเร็วตั้งต้นที่ผลิตมาจากโรงงาน จากรูปจะเห็นว่าเท่ากับ GPU Clock เลย เพราะว่าไม่ได้ทำการ Overclock GPU มันจึงมีค่าเท่ากัน
  • NVIDIA SLI– เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอหลายๆตัวร่วมกันประมวลผลกราฟฟิค ซึ่งจากรูปก็จะเป็นแบบ Disabled ก็คือไม่ได้เปิดใช้งาน หรือใช้งานการ์ดจอเพียงตัวเดียวเท่านั้น สำหรับผู้ที่ใช้ AMD จะขึ้นว่า ATI CossFire 

การเช็คสเปค CPU



CPU - Z 

Name - ชื่อ รุ่น ของ CPU

Code Name - ชื่อชีรี้ของ CPU 

Max TDP - บอกอัตตราการกินไฟสูงของ CPU

Package - บอก Socket CPU

Technology - เทคโนโลยีการผลิต

Core Voltage - ไฟเลี้ยง CPU

Specification - ชื่อเต็มของ CPU

Instructions - โค๊ตการเข้ารหัสของ CPU 

Clocks - บอกรายละเอียดความเร็วของ CPU 

Cache - บอกรายละเอียด ของ Cache CPU แยกออกเป็น Level ต่างๆ